การอบรมให้ความรู้ทางด้านการทำการเกษตรให้กับผู้ลี้ภัย ที่สำนักงานเกษตรของโคเออร์ที่พื้นที่บ้านแม่หละ และ นุโพ และที่สำนักงานสังคมสงเคราะห์ของโคเออร์ที่บ้านอุ้มเปี้ยม ในเดือนตุลาคม นั้น พบว่าผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจดี มีความตั้งใจและสอบถามตลอดเวลา ที่สำคัญมีการจดบันทึกบทเรียนไว้ด้วย ซึ่งหัวข้อที่ให้การอบรมในพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัย ทั้ง 3 แห่ง ของจังหวัดตาก เป็นเรื่องของ ระบบนิเวศทางธรรมชาติ โครงสร้างของพืช ดินและการกำเนิดดิน ลม ฟ้า อากาศ ธาตุอาหารพืช ความหมายและหลักการของเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงดิน การป้องกันและจัดการศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ การจัดการน้ำ การเลี้ยงสัตว์ และ การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเกษตรอินทรีย์
พื้นที่พักพิงฯ |
วันที่อบรม |
จำนวนผู้รับการอบรม (คน) |
รอบที่ 1 |
รอบที่ 2 |
บ้านแม่หละ |
12-16 ต.ค. |
19-22 และ 26 ต.ค. |
30 |
บ้านอุ้มเปี้ยม |
5-9 ต.ค. |
19-23 ต.ค. |
25 |
นุโพ |
12-16 ต.ค. |
26-30 ต.ค. |
20 |
ในเดือนพฤศจิกายน เนื้อหาที่ให้การอบรมจะเป็นการทบทวนบทเรียนเก่าที่เคยเรียนมาทั้งหมด แล้วจึงสอนการทำการเกษตรอินทรีย์แบบสมัยใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับชุมชน การทำปุ๋ยอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพและการประยุกต์นำวัสดุในชุมชนมาใช้ประโยชน์ การสกัดสารจากพืชเพื่อนำมาใช้เป็นสารไล่แมลง การจัดสรรปันส่วนพื้นที่ทำกินเพื่อให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด การทำบัญชีครัวเรือนเพื่อแยกประเภทรายรับรายจ่ายในครัวเรือนของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
พื้นที่พักพิงฯ |
วันที่อบรม |
จำนวนผู้รับการอบรม (คน) |
บ้านแม่หละ |
2-6 พฤศจิกายน |
36 |
บ้านอุ้มเปี้ยม |
2-6 พฤศจิกายน
|
15 |
|
9-30 พฤศจิกายน |
10 |
เนื้อหาสำหรับการอบรมจะเกี่ยวกับเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร การวิเคราะห์และเก็บข้อมูลชุมชน ตลอดจน ระบบและรูปแบบของโรงเรียนเกษตรกร
มีการอบรมภาคปฏิบัติให้กับผู้ผ่านการอบรมทั้งกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ ลักษณะการอบรมเป็นการให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกตั้งแต่การเตรียมดิน เพาะกล้า การปลูกลงแปลง จนถึงการดูแล นอกจากนี้ยังให้ความรู้เพิ่มในเรื่องที่เกษตรกรสนใจเรียนรู้ ได้แก่ การทำสบู่ การทำน้ำยาล้างจาน การทำปุ๋ยหมัก การทำยาดมสมุนไพร เป็นต้น
การอบรมในเดือนตุลาคม
การอบรมในเดือนพฤศจิกายน
|